วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรรโชกกับชิงทรัพย์

 กรรโชกทรัพย์
    ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก

ชิงทรัพย์
ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์

กรรโชกจะกว้างกว่าครับ 1.ดูคำว่าลักษณะทรัพย์สิน ก็จะกว้างกว่า ทรัพย์สินของชิงทรัพย์ ชิงทรัพย์ปกติจะหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ ส่วนลักษณะทรัพย์สิน เป็นได้ทุกอย่าง เช่นขู่ว่าให้โอนที่ให้ก็เป็น กรรโชกครับ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
2.ชิงทรัพย์ เน้นขู่ทำร้ายบุตตลทันทีครับ กรรโชกขู่ทำลายทรัพย์ของบุคคลก็ได้ เช่นขู่เอาตัง ไม่งั้นจะทำลายแหวนมรดก เป็นกรรโชกครับ แถมด้วยชื่อเสียง เสรีภาพ,,, หรือบุคคลที่สาม ตามตัวบทเลยครับ ซึ่งชิงทรัพย์ไม่มี
3.ชิงทรัพย์ ต้องพาไปได้ถึงจะสำเร็จนะครับ กรรโชกยอมให้ แม้ยังไม่ให้ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เช่นขู่ว่าเอาตังมาไม่งั้นตาย ผู้เสียหายบอกว่ายอมจ๊ะ เด๋วให้ ถือว่ากรรโชกสำเร็จแล้วนะครับ แต่ยังเป็นแค่พยายามชิงทรัพย์อยู่
4.โดยส่วนตัวคิดว่ามันมีส่วนที่ซ้อนกันอยู่ครับ แต่กรรโชกกว้างกว่ามากเท่านั้นเอง

ชิงทรัพย์
1.ชิงทรัพย์ ต้องเนื้อตัว ร่างกาย
กรรโชก อย่างอื่น

2.ชิงทรัพย์ ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
กรรโชก อสังฯ ที่ดิน ตึก

3.ชิงทรัพย์ = ในทันใด(ดูตัวบท)
กรรโชก ไม่ใช่ในทันใด

คือความผิด 2 ฐานนี้มันซ้อน ๆ กันอยู่ครับ
แต่หลักวินิจฉัย ให้พิจารณาชิงทรัพย์ก่อน
อันไหนเข้าชิงทรัพย์ก็เอาชิงทรัพย์ไปเลยครับ

คำถามยอดนิยม1.ขู่ว่าจะทำร้ายพรุ่งนี้ = กรรโชก
2.เตะรั้วสังกระสี มีดอิโต้สับเขียง = แม้จะกระทำต่อทรัพย์
แต่ก็เป็นการขู่อยู่ในตัวว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นชิงทรัพย์

สรุป ชิงทรัพย์ต้อง
1.เนื้อตัวร่างกาย
2.ในทันใด
3.สังหาฯ เคลื่อนย้ายได้

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...