วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การโอนสิทธิเรียกร้อง

ลักษณะของการโอนสิทธิเรียกร้อง
เป็นกรณีที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาโอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้แก่บุคคลอื่น  มีผลให้บุคคลผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้คนใหม่แทนเจ้าหนี้คนเดิมและมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้เช่นเจ้าหนี้คนเดิม

กรณีตัวอย่างการโอนสิทธิเรียกร้อง
- นาย ก. เจ้าหนี้เงินกู้ โอนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีต่อ นาย ข. ลูกหนี้ให้ นาย ค. บุคคลภายนอก นาย ค. มีสิทธิเรียกร้องให้ นาย ข. ชำระหนี้เงินกู้แก่ตนได้
- นาย ก.สั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าให้ นาย ข.   นาย ข. ต้องการใช้เงินจึงเอาเช็คไปขายต่อให้ นาย ค.  นาย ค. ย่อมรับโอนสิทธิตามเช็คมา

เปรียบเทียบการโอนสิทธิเรียกร้องกับการรับช่วงสิทธิ
การรับช่วงสิทธิเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการโอนสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญาโดยการตกลงกันของคู่กรณี และจะโอนให้แก่ผู้ใดก็ได้โดยผู้รับโอนไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในสิทธินั้นอยู่เดิม

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3316/2540
โอนสิทธิเรียกร้องนั้น เป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่เดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทน มิได้เปลี่ยนแปลงสิทธิแต่อย่างใด และโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้รวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วย  ดังนั้น อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้ เมื่อปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับเจ้าหนี้คนเดิม มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1)  เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องฟ้องคดีเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...