วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรรโชกกับชิงทรัพย์

 กรรโชกทรัพย์
    ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก

ชิงทรัพย์
ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์

กรรโชกจะกว้างกว่าครับ 1.ดูคำว่าลักษณะทรัพย์สิน ก็จะกว้างกว่า ทรัพย์สินของชิงทรัพย์ ชิงทรัพย์ปกติจะหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ ส่วนลักษณะทรัพย์สิน เป็นได้ทุกอย่าง เช่นขู่ว่าให้โอนที่ให้ก็เป็น กรรโชกครับ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
2.ชิงทรัพย์ เน้นขู่ทำร้ายบุตตลทันทีครับ กรรโชกขู่ทำลายทรัพย์ของบุคคลก็ได้ เช่นขู่เอาตัง ไม่งั้นจะทำลายแหวนมรดก เป็นกรรโชกครับ แถมด้วยชื่อเสียง เสรีภาพ,,, หรือบุคคลที่สาม ตามตัวบทเลยครับ ซึ่งชิงทรัพย์ไม่มี
3.ชิงทรัพย์ ต้องพาไปได้ถึงจะสำเร็จนะครับ กรรโชกยอมให้ แม้ยังไม่ให้ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว เช่นขู่ว่าเอาตังมาไม่งั้นตาย ผู้เสียหายบอกว่ายอมจ๊ะ เด๋วให้ ถือว่ากรรโชกสำเร็จแล้วนะครับ แต่ยังเป็นแค่พยายามชิงทรัพย์อยู่
4.โดยส่วนตัวคิดว่ามันมีส่วนที่ซ้อนกันอยู่ครับ แต่กรรโชกกว้างกว่ามากเท่านั้นเอง

ชิงทรัพย์
1.ชิงทรัพย์ ต้องเนื้อตัว ร่างกาย
กรรโชก อย่างอื่น

2.ชิงทรัพย์ ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
กรรโชก อสังฯ ที่ดิน ตึก

3.ชิงทรัพย์ = ในทันใด(ดูตัวบท)
กรรโชก ไม่ใช่ในทันใด

คือความผิด 2 ฐานนี้มันซ้อน ๆ กันอยู่ครับ
แต่หลักวินิจฉัย ให้พิจารณาชิงทรัพย์ก่อน
อันไหนเข้าชิงทรัพย์ก็เอาชิงทรัพย์ไปเลยครับ

คำถามยอดนิยม1.ขู่ว่าจะทำร้ายพรุ่งนี้ = กรรโชก
2.เตะรั้วสังกระสี มีดอิโต้สับเขียง = แม้จะกระทำต่อทรัพย์
แต่ก็เป็นการขู่อยู่ในตัวว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นชิงทรัพย์

สรุป ชิงทรัพย์ต้อง
1.เนื้อตัวร่างกาย
2.ในทันใด
3.สังหาฯ เคลื่อนย้ายได้

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติน่ารู้

ความเป็นมารัฐธรรมนูญไทย
         ประเทศไทยเริ่มมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับถึง พ.ศ. ๒๕๓๕ มีรัฐรรมนูญ รวม ๑๖ ฉบับ ฉบับที่ ๑๖ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   พุทธศักราช ๒๕๔๐ รวมเวลา ๖๕ ปี เปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ๑๖ ฉบับ
รัฐธรรมนูญกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง และกำหนดวิธีแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองไว้อย่างแข้งชัด รัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองไม่สามรถใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ผู้ปกครองไม่เต็มใจปฏิบัติตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเปลี่ยนให้เป็นไปตามความประสงค์ของตนประเทศไทยจึงมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง เพราะเป็นเครื่องมือในการปกครองอำนาจ ซึ่งเป็นกรณีที่ตรงข้ามกับกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญที่ชนชั้นนำของเขาได้สร้างขึ้นและได้รับความเห็นชอบจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่ในประเทศเลย นับตั้งแต่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. ๑๗๘๗ อาจกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญที่จำนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองอย่างจริงจัง และได้รับการพิทักษ์รักษามิให้ถูกละเมิดหรือล้มเลิกนั้น จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญและเห็นประโยชน์ที่จะได้จากรัฐธรรมนูญนั้น
       รัฐธรรมนูญมีความสำคัญในการเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งผู้ปกครองจะละเมิดมิได้และเป็นบทบัญญัติจำกัดหน้าที่ของผู้ปกครอง และป้องกันมิให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ รัฐธรรมนูญของบางปรเทศให้รัฐสภามีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครอง รวมทั้งให้ศาลทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารละเมิดสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนด้วย
        รัฐธรรมนูญของประเทศไทยบางฉบับ ให้ความสำคัญแก่ผู้ทรงอำนาจในขณะนั้น ได้แก่รัฐธรรมนูญของไทยฉบับแรก ฉบับวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ บัญญัติในมาตรา ๒ ว่า "คณะกรรมการราษฏรอยู่ในฐานะที่จะใช้อำนาจปกครองแทนราษฏรได้เท่าเทียมกับพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญของไทยฉบับวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ บัญญัติไว้ในมาตรา๑๗ ว่า "ให้มีสภานโยบายแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลในคณะปฏิวัติ" และในมาตรา ๑๘ และ ๒๓ ว่า "สภานโยบายมีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ" และประธานสภานโยบายแห่งชาติมีอำนาจถวายคำแนะนำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี
เจตนารมณ์ของคณะราษฎรเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คือ ให้ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า รัฐธรรมนูญบางฉบับให้ความสำคัญแก่ผู้ทรงอำนาจ ฉะนั้นรัฐธรรมนูญกับระบอบการปกครองมิใช่สิ่งเดียวกัน ประเทศที่มีรัฐ-ธรรมนูญอาจมีการปกครองเป็นแบบเผด็จการหรือแบบประชาธิปไตยก็ได้ สิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นยึดหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยมีหลักอยู่ ๓ ประการคือ
๑. ให้หลักประกันแก่สิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมั่นคง และกำจัดการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไว้ค่อนข้างมาก
๒. ยกย่องให้รัฐสภา โดยเฉพาะสภา ผู้แทนราษฎรมีอำนาจแต่งตั้ง ทอดถอนและและควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีไว้มาก
๓. กำหนดให้ข้าราชการประจำเป็นกลางทางการเมือง หรือไม่ให้ข้าราชการประจำเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในขณะเดียวกัน
ทั้งนี้ ต้องประกอบกับการปฏิบัติของนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนด้วย ว่าได้ปฏิบัติในแนวประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
รัฐธรรมนูญของประเทศไทยแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทคือ ประเภทที่รัฐบาลประกาศใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว และประเภทที่รัฐบาลประกาศใช้เป็นการถาวรรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีข้อความแตกต่างกัน วางหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ต่างกัน การศึกษารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จะทำให้ทราบเจตนาของผู้สร้างรัฐธรรมนูญและมีผลอย่างไรต่อการเมืองการครองของประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย ฉบับที่ ๑-๔
     ฉบับที่ ๑ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕.

ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีทั้งหมด ๓๙ มาตรา แบ่งเป็น ๖ หมวดคือ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป หมวด ๒ กษัตริย์ หมวด ๔ คณะกรรมการราษฎร และหมวด ๕ ศาล ทั้ง ๕ หมวด มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
๑. อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร โดยมีกษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎรกรรมการราษฎร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๒. สภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจและควบคุมกิจการของประเทศ และมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไปกาลสมัย ดังนี้
สมัยที่ ๑ นับแต่วันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิดในสมัยที่ ๒ จะเข้าดำรงตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน ๗๐ นาย เป็นสมาชิดในสภา
สมัยที่ ๒ ภายในเวลา ๖ เดือน หรือจนกว่าประเทศเป็นปกติ ให้มีสมาชิกในสภา ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑ คือผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ประเภทที่ ๒ คือผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วในสมัยที่ ๑ ให้เลือกกันเอง มีจำนวนเท่ากับประเภทที่ ๑
สมัยที่ ๓ เมื่อจำนวนราษฎรทั่วประเทศสอบไล่ได้ชั้นวิชาประถมศึกษา (ป.๔) เกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และจะไม่มีสมาชิกประเภท ๒ อีกต่อไป
๓. คณะกรรมการราษฎร มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของรัฐสภา เสนาบดีกระทรวงต่างๆ ต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการในกระทรวงต่อคณะกรรมการราษฎร สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เลือกประธานกรรมการราษฎร และประธานกรรมการราษฎร สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เลือกประธานกรรมการราษฎร และประธานกรรมการราษฎรเป็นผู้เลือกกรรมการราษฎร ๑๔ นาย จากสมาชิกรัฐสภา
๔. ศาล เป็นผู้ระงับข้อพิพาทตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้อำนาจแก่สภาผู้แทนราษฎรมากกว่าสถาบันอื่น ๆ ทั้งหมด กล่าวคือ มีอำนาจถอดถอนรัฐมนตรี ซึ่งในธรรมนูญฉบับนี้เรียกว่า "กรรมการราษฎร" และพนักงานของรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยที่ฝ่ายรัฐมนตรีหรือกรรมการราษฎรไม่มีอำนาจยุบสภา อีกประการหนึ่งถึงแม้จะระบุไว้ในธรรมนูญการปกครองว่า จะมีเลือกตั้งผู้แทนราษฎรภายใน ๖ เดือน ก็ยังมีผู้แทนราษฎรที่คณะราษฎรแต่งตั้งไว้จำนวนเท่ากันและเมื่อครบกำหนด ๑๐ ปี จะมีแต่ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งก็เท่ากับเปิดโอกาสให้คณะราษฎรมีอำนาจในสภาผู้แทนราษฎรถึง ๑๐ ปี
ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวได้มีการยกเลิกไป เมื่ออนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธาน ได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
    ฉบับที่ ๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕

ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญรัฐบาลให้หยุดราชการได้ ๑ วัน มีบทบัญญัติรวม ๖๘ มาตรา ประกอบด้วยบททั่วไปและหมวดต่าง ๆ อีก ๗ หมวด ดังนี้หมวดที่ ๑ พระมหากษัตริย์ หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด ๓ สภาผู้แทนราษฎร หมวด ๔ คณะรัฐมนตรี หมวด ๕ ศาล หมวด ๖ บทสุดท้าย และหมวด ๗ การใช้รัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
๑. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนี้โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจยุบสภาผู้สภาผู้แทนราษฎร พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ดำรงตำแหน่งอยู่ในฐานะเหนือการเมือง คือไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับการเมือง
๒. บุคคลมีความเสมอภาคและเสรีภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้เสรีภาพนั้นต้องไม่ละเมิดต่อบุคคลอื่น
๓. สมาชิดสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปีมีหน้าที่บัญญัติกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร มีสิทธิที่จะลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีรายตัวหรือคณะ
๔. คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย
๔.๑ นายกรัฐมนตรี ๑ คน และรัฐมนตรี ๑๔ คน ซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
๔.๒ รัฐมนตรีนอกเหนือจากข้อ ๔.๑ ให้เลือกจากผู้มีความชำนาญพิเศษอื่น ๆ ไม่ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ บุคคลในข้อนี้มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคณะรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในทางรัฐธรรมนูญ และต้องออกจากตำแหน่งเมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นคณะ
๕. ศาล มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี
๖. บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ มีข้อความแย้งหรือขัดแก่รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าบทบัญญัตินั้น ๆ เป็นโมฆะ สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มาจากคณะรัฐมนตรีหรือมากจากสมาชกสภาผู้แทนราษฎร
๗. การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล กล่าวไว้ว่าเมื่อราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งยังมีการศึกษาไม่จบประถมศึกษาสามัญมากกว่ากึ่งจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกินกว่าสิบปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ

สมาชิกประเภทที่ ๑ มาจากผู้ที่ราษฎรเลือกตั้ง
สมาชิกประเภทที่ ๒ ได้แก่ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้นานถึง ๑๔ ปี มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช ๒๔๘๒ ให้เรียกว่าประเทศไทย และบทแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน
ครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช ๒๔๘๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ยึดอายุเวลาการมีสมาชิกประเภทที่ ๒ ออกไปเป็น ๒๐ ปี
ครั้งที่ ๓ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพุทธศักราช ๒๔๘๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถ้ามีเหตุขัดข้องทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เมื่ออายุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบสี่ปีแล้วใช้ขยายเวลาเลือกตั้งออกไปเป็นคราวละไม่เกินสองปี
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ไม่มีบทบัญญัติห้าข้าราชการประจำยุ่งเกี่ยวการการเมือง จึงเป็นผลให้บุคคลสำคัญของคณะราษฎรที่เป็นข้าราชการประจำ สามารถเข้าคุมตำแหน่งทางการเมืองทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและในคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญไม่รับรองสิทธิในการตั้งพรคการเมืองจึงทำให้ไม่สามารถรวมพลังเพื่อเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ ได้ รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ มีผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งถูกจับกุมและลงโทษเพราะละเมิดพระราชบัญญัติดังกล่าว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่ พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ บุคคลทั้งสองพิจารณาว่าสมควรจะเลิกบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ และได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่เพราะได้ใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว ๑๔ ปี เหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นฉบับที่ ๓
     ฉบับที่ ๓ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙
ใช้บังคับเมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๘๙ มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น ๙๖ มาตราประกอบด้วย บททั่วไป หมวด ๑ พระมหากษัตริย์ หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ชนชาวไทย หมวด ๓ อำนาจนิติบัญญัติ หมวด ๔ อำนาจบริหาร หมวด ๕ อำนาจตุลาการ หมวด ๖ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๗ บทสุดท้าย และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
๑. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล
๒. บุคคลมีฐานะเสมอกันทางกฎหมาย มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในร่างกาย ทรัพย์สิน การพูด การพิมพ์ การโฆษณา การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคณะพรรคการเมือง การอาชีพ รวมทั้งมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ช่วยเหลือราชการ โดยวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
พฤฒสภา ประกอบด้วยสมาชิก ๘๐ คน การเลือกตั้งสมาชิก พฤฒสภาให้ใช้วิธีลงคะแนนออกเสียงโดยทางอ้อมและลับ ซึ่งปรากฏในบทเฉพาะกาล มาตรา ๙๐ มีองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ประกอบด้วย ผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในวันสุดท้ายก่อนใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งทาง ราชการไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
สมาชิกภาพของพฤฒสภา มีกำหนดคราวละ ๖ ปี เมื่อครบ ๓ ปี ให้จับสลากออกเปลี่ยนสมาชิกครึ่งหนึ่ง ผู้ที่พ้นวาระมีสิทธิรับเลือกตั้งอีก
สภาผู้แทน การเลือกตั้งสมาชิก ใช้วิธีลงคะแนนออกเสียงโดยตรงและลับจำนวนสมาชิกของสภาผู้แทนขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎร กล่าวคือ ถือเกณฑ์ จำนวนราษฎรหนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภาผู้แทน ๑ คน ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินกราษฎรเกินเศษของหนึ่งแสนถึงครึ่งหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
อายุของสภาผู้แทนมีกำหนดคราวละ ๔ ปี
ถ้ามีการยุบสภา ต้องให้เลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายใน ๙๐ วัน
สมาชิกสภาผู้แทนมีสิทธิลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะได้
พฤฒสภาและสภาผู้แทน ให้มีประธานแต่ละสภา องค์ประชุมของแต่ละสภาต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสาม เมื่อประชุมร่วมกันทั้งสองสภา ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานและประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน การงมติให้ถือเสียงข้างมากพฤฒสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทน ถ้าเห็นชอบด้วยก็ให้นายกรัฐมนตรีนำทูลเกล้าฯ ถวายให้ลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ถ้าพฤฒสภา ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ถ้าพฤฒสภาให้แก้ไขเพิ่มเติม ก็ส่งพระราชบัญญัติกลับคืนมาให้สภาผู้แทนพิจารณาใหม่ ถ้าสภาผู้แทนยืนยันในร่างพระราชบัญญัตินั้นด้วยคะแนนเสียงมากกว่าครึ่ง ก็ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
๔. อำนาจบริหาร ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ๑ คน รัฐมนตรี ๑๐-๑๘ คน ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ และรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาในทางรัฐธรรมนูญในการดำเนินนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากรับสภา
๕. อำนาจตุลาการ ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถดีตามกฎหมาย การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การย้ายและการถอดถอผุ้พิพากษาต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการ
๖. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำได้ด้วยการให้รัฐสภาพิจารณาร่วมกันเป็นสามวาระ การออกเสียงในวาระสามต้องมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสาม
๗. บทสุดท้าย ให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้ง ให้มีประธานตุลาการหนึ่งคน และตุลาการอีกสิบสี่คน
รัฐธรรมนูญฉบับที่มีแนวทางในการดำเนินการปกครองเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ กล่าวคือ สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง ให้ประชาชนมีเสรีภาพรวมกันตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ เป็นการให้โอกาสรวมกลุ่มเพิ่อรักาาประโยชน์ของตนและถ่วงดุลอำนาจของกลุ่มอื่น อีกประการหนึ่งให้แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการประจำ
การแยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการประจำทำความไม่พอใจแก่กลุ่มข้าราชการที่มีบทบาททางการเมืองนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ประกอบกับในระยะนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พลเอกผิน ชุณหะวัน นำคณะทหารก่อการรัฐประหารในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๙๐ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓ หลังจากที่ประกาศใช้ได้เพียง ๑๘ เดือน
     ฉบับที่ ๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐
ประกาศใช้ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ได้ให้มีการอ้างเหตุผลในการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญว่า ประเทศชาติอยู่ในภาวะวิกฤติ ประชาชนได้รับความลำบากเพราะขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค ราคาสินค้าสูงขึ้น มีความเสื่อมทรามในศีลธรรม รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่เป็นเหตุให้ประเทศชาติทรุดโทรมจึงขอให้เลิกใช้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะช่วยจรรโลงชาติและบำบัดยุคเข็ญให้เข้าสู่ภาวะปกติ
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๔ มีทั้งหมด ๙๘ มาตรา ประกอบด้วย หมวดทั่วไป หมวด ๑ พระมหากษัตริย์ หมวด ๒
อภิรัฐมนตรี หมวด ๓ สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย หมวด ๔ อำนาจนิติบัญญัติ หมวด ๕ อำนาจบริหาร หมวด ๖ อำนาจตุลาการ หมวด ๗ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมวด ๘ บทสุดท้าย และบทเฉพาะกาล สาระสำคัญคล้ายรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๓ มีส่วนที่แตกต่าง ดังนี้
๑. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งสำหรับถวายคำปรึกษาในราชการแผ่นดิน ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ อภิรัฐมนตรีขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
๒. มีอภิรัฐมนตรี จำนวน ๕ นาย ผู้อาวุโสเป็นประธาน ผู้ที่จะมาเป็นอภิรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างลง ต้องเป็นผู้ที่รับราชการมาไม่น้อยกว่า ๒๕ ปี อยู่ในตำแหน่งอย่างต่ำอธิบดีหรือเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไม่น้อยกว่า ๔ ปี
๓. อำนาจนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทน
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้ง มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน
สภาผู้แทน ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำคุณสมบัติของผู้แทนต้องมีเชื้อชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปี
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธาน และกำหนดให้รัฐสภาร่วมประชุมกันในเรื่องต่อไปนี้
๑) การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
๒) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติใหม่
๓) พิธีเปิดประชุมรัฐสภา
๔) การลงมติความไว้วางใจในคณะรัฐมนตรี
๕) การให้ความยินยอมในการประกาศสงคราม
๖) การให้ความเห็นชอบแก่หนังสือสัญญาได้แก่ สัญญาสงบศึกและทำหนังสือสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศ
๗) การตีความในรัฐธรรมนูญ
๔. อำนาจบริหาร คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรรัฐมนตรี ๑ คน และรัฐมนตรีจำนวน ๑๕-๒๕ คน รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ
๕. บทเฉพาะกาล ให้มีวุฒิสภาภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญส่วนการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฏรสองแสนคนต่อสมาชิกผู้แทนหนึ่งคนเศษของสองแสนคน ถ้าถึงกึ่งหนึ่งให้ถือว่าเป็นสองแสน วิธีการเลือกตั้งใช้วิธีรวมเขตจังวัด
รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๔ มีการแก้ไข ๓ ครั้ง คือ สองครั้งแรกในสมัย นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี (๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐-๗ เมษายน ๒๔๙๑) ส่วนครั้งสุดท้ายแก้ไขในสมัยจอมพล. ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีดังมีสาระสังเขป ดังนี้
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๐ เรื่องวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๙๑ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา ๑๐ คน และจากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๔ ประเภทประเภทละ ๕ คน
ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๙๑ เรื่องให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขำขำ

คางคกผู้น่าสงสาร

คางคกเป็นสัตว์ที่ข้ามถนนตอนกลางคืนไม่เก่ง จะถูกรถทับตายเป็นจำนวนมาก มีคางคกตัวหนึ่งต้องการข้ามถนนเป็น จึงไปปรึกษากระต่าย เพราะกระต่ายข้ามถนนตอนกลางคืนเก่งมาก (ข้ามกลางวันถนนมันร้อน)

คางคก: กระต่ายๆ ช่วยสอนเราข้ามถนนตอนกลางคืนหน่อยซิ !!

กระต่าย:ได้ วิธีข้ามก็คือตอนข้ามไปถ้าเห็นแสงไฟสองดวงส่องมา ให้กระโดดไปอยู่ระหว่างไฟสองดวงนั้น แล้วก้มหัวให้ต่ำ พอแสงไฟผ่านไปก็กระโดดต่อไปได้ !!

คางคก: คืนนี้กระต่ายลองทำให้ดูหน่อยได้หรือเปล่า ?

กระต่าย: ได้ซิ !!

ว่าแล้วคืนนั้นกระต่ายกับคางคกก็ไปที่ถนนกันกระต่ายข้ามให้ดูก่อนกระต่ายกระโดดไป พอแสงไฟสองดวงมา
กระต่ายก็เข้าไปอยู่ระหว่างแสงไฟสองดวงนั้น แล้วก้มหัวให้ต่ำ แสงไฟก็เลยผ่านหัวไป แล้วกระต่ายก็ข้ามถนนผ่านไปได้

พอมาถึงตาคางคกบ้าง คางคกกระโดดไปกลางถนน
เห็นแสงไฟสองดวงมาก็เข้าไปอยู่ระหว่างแสงไฟสองดวงแล้วก้มหัวให้ต่ำอย่างที่กระต่ายสอน พอแสงไฟเข้ามาใกล้ก็มีเสียงดัง "แบะ" แล้วก็เลยไปปรากฏว่าคางคกแบนติดถนน

เมื่อกระต่ายเห็นดังนั้น ถึงกับถอนหายใจและส่ายหน้าพร้อมกับพูดว่า
"เจ้าคางคกเอ๋ย ซวยจริง ลองครั้งแรกก็เจอตุ๊กตุ๊กซะแล้ว"

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหากฎหมาย

ระหว่างคดีมโนสาเร่ กับ คดี ไม่มีขุ้อยุ่งยาก เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ข้อคิดเห็นที่ 1    มโนสาเร่ เป็นไปโดยผลของกฎหมาย เช่น คดีทุนทรัพย์ ๑ แสนบาท ก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแบบมโนสาเร่ทันที แต่ถ้าคดีไม่มีข้อยุ่งยากจะต้องอาศัยคำสั่งจากศาล มิเช่นนั้นก็ถือว่ายังคงเป็นคดีธรรมดา
ข้อคิดเห็นที่ 2   
ถ้าทุนทรัพย์ต่ำกว่า 300,000 ก็เป็นคดีมโนสาเร่
                          ถ้าเกิน 300,000 ต้องดูว่า เป็นคดีประเภทไหนถ้าเป็นคดี กู้ยืม เช็ค อะไรประมาณนี้ ที่มีจำนวนเงินแน่นอน ก็เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก แต่ถ้าเป็นคดีประเภทอื่น ก็เป็นแพ่งสามัญ

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประลองปัญญา

ลองดูคับ. นายใบกับครอบครัวประกอบอาชีพทำนาในเนื้อที่ 3 ไร่ และยังเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้นายใบปลูกกระต๊อบไว้ในที่ปลายนาเพื่อผักผ่อนและเก็บเครื่องสูบน้ำกับเครื่องมือทำนาไว้ ก่อนเกิดเหตุเคยมีคนร้ายลักทรัพย์ดังกล่าวไป เพื่อนบ้านก็ประสบเหตุเดียวกัน ทั้งขณะนั้นข้าวเปลือกก็มีราคาสูงมาก ต่อมานายใบต้องเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อจัดหาหอพักให้ลูกสาวที่กำลังจะเข้าเรียนเนติบัณฑิต จึงขึงเส้นลวดรอบที่นาสามด้านเว้นด้านที่มีกระต๊อบซึ่งนายใบขึงลวดล้อมรอบกระต๊อบไว้ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าจากบ้านเข้าเส้นลวดทั้งหมด เพื่อป้องกันคนร้าย คืนเกิดเหตุนายจกเข้ามาในนาข้าวของนายใบเพื่อจะจับปลา แต่สัมผัสเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าถึงแก่ความตาย ส่วนนายน้อย นายเป็ด และนายห่านเข้ามายังที่นาผ่านด้านที่นายใบไม่ได้ขึงลวดไว้เพื่อลักทรัพย์ที่เก็บไว้ในกระต๊อบ โดยนายน้อยเพียงคนเดียวถือชะแลงมาด้วย 1 อัน ระหว่างใช้ชะแลงงัดแงะประตูกระต๊อบ นายน้อยสัมผัสลวดที่มีกระแสไฟฟ้าซึ่งขึงรอบกระต๊อบถึงแก่ความตาย นายเป็ดและนายห่านเห็นดังนั้นก็หลบหนีไป ระหว่างนั้น นางส้มภริยาของนายใบตื่นขึ้นมาเห็นทั้งสองคนวิ่งหนีไปหลังไวๆ จึงคว้าปืนลูกซองซึ่งเหน็บไว้ที่ฝาเรือนยิงไป 3 นัด ถูกนายห่านที่บริเวณหลังได้รับบาดเจ็บ ส่วนนายเป็ดหลบหนีไปได้
----------ให้วินิจฉัย นายใบและนางส้มมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่----------ธงคำตอบ แม้ขณะเกิดเหตุนายจกผู้ตายจะเข้าในนาของนายใบเพื่อลักจับปลาอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และถ้านายใบพบเห็นย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนเองได้ก็ตาม แต่กระแสไฟฟ้าที่นายใบปล่อยผ่านเส้นลวดที่ล้อมรอบที่นาย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพซึ่งสามารถทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายได้ ส่วนทรัพย์สินของนายใบเป็นเพียงปลาในนาข้าวมูลค่าไม่มาก การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าเส้นลวดเพื่อป้องกันทรัพย์สินของนายใบดังกล่าวย่อมไม่ได้สัดส่วนกัน การกระทำของนายใบจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนที่เกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 นายใบจึงมีความผิดฐานมิได้มีเจตนาฆ่าแต่ทำร้ายนายจกจนเป็นเหตุให้นายจกถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 69 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2548)
----------การที่นายน้อยกับพวกบุกรุกเข้าไปที่กระต๊อบซึ่งเป็นที่พักผ่อนและเก็บทรัพย์สินของนายใบในยามวิกาลเพื่อลักทรัพย์โดยมีชะแลงเป็นเครื่องมือ แต่นายน้อยสัมผัสเส้นลวดที่มีกระไฟฟ้าซึ่งนายใบขึงรอบกระต๊อบถึงแก่ความตายเสียก่อน มิฉะนั้นนายน้อยกับพวกย่อมลักทรัพย์ไปได้ นับได้ว่าเป็นภยันตรายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินของนายใบใกล้จะถึงแล้ว ถ้านายใบไปพบเห็นเข้าย่อมมีสิทธิกระทำเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนได้ ดังนั้น การกระทำของนายใบจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมายและพอสมควรแก่เหตุ นายใบไม่มีความผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1923/2519)
----------สำหรับนางส้มนั้น แม้การที่นายห่านกับพวกเข้ามาในบริเวณกระต๊อบที่เก็บทรัพย์สินของนางส้มในเวลากลางคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายก็ตาม แต่นางส้มเห็นนายห่านกับพวกขณะกำลังวิ่งหนีออกไป เหตุละเมิดดังกล่าวจึงผ่านพ้นไปแล้ว ประกอบกับนายห่านไม่มีอาวุธติดตัวมาในที่เกิดเหตุ นางส้มจึงไม่จำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายเพราะภยันตรายผ่านพ้นไปแล้ว การที่นางส้มใช้อาวุธปืนยิงนายห่านด้านหลังขณะกำลังวิ่งหนี จึงมิใช่กระทำเพื่อป้องกันตามมาตรา 68 เมื่อปืนเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงซึ่งนางส้มย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากกระสุนปืนถูกนายห่านย่อมเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อนายห่านเพียงได้รับบาดเจ็บ การกระทำของนางส้มจึงไม่บรรลุผล นางส้มมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 แล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5638/2533)

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...