วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร  พ.ศ.2539
                โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสารเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อปฏิบัติตามความในข้อ 9 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2532 กระทรวงการต่างประเทศจึงวางระเบียบว่าด้วยการรับรองเอกสารไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ.2539 "
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยขั้นตอนและระยะเวลาการยื่นและรับรองเอกสาร พ.ศ.253บรรดาระเบียบข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบฉบับนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบทของระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ส่วนที่ 1 การรับรองคำแปลเอกสาร
ตอนที่ 1 การรับรองคำแปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ข้อ 4. เอกสารที่จะนำมายื่นเพื่อขอให้รับรอง จะต้องเป็นเอกสารที่แปลจากต้นฉบับภาษาไทยที่ทางราชการออกให้ตามกฎหมาย หากเป็นเอกสารที่ภาคเอกชนจัดทำขึ้น จะต้องได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อน
ข้อ 5. การยื่นคำขอให้รับรองคำแปลดังกล่าว ให้ยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ตามแบบที่กำหนดต่อส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้
ต้นฉบับภาษาไทย พร้อมสำเนา 2 ชุด ในกรณีที่ไม่มีต้นฉบับมาแสดง สำเนาที่นำมายื่นจะต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากส่วนราชการที่ออกเอกสารนั้น  เว้นแต่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ต้นฉบับคำแปลภาษาอังกฤษที่ผู้แปลลงชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้องพร้อมสำเนา 1ชุด  ในกรณีที่ส่วนราชการที่ออกเอกสารสามารถจัดทำคำแปลให้ได้ คำแปลที่นำมายื่นต้องเป็นคำแปลที่จัดทำโดยส่วนราชการนั้น ๆ บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด ในกรณีที่เจ้าของเอกสารไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเอง  ให้มีหนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด   หากเจ้าของเอกสารเป็นนิติบุคคล  ให้มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลนั้น บัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจลงนามแทนพร้อมสำเนา 1 ชุด
ตอนที่ 2 การรับรองคำแปลเอกสารจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย
ข้อ 6. เอกสารที่นำมายื่นเพื่อขอให้รับรองคำแปล จะต้องเป็นเอกสารที่แปลจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศที่ทางราชการของประเทศนั้น ๆ ออกให้  หรือเป็นเอกสารที่แปลจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ ซึ่งภาคเอกชนจัดทำขึ้น
เอกสารตามวรรคก่อนจะต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทยในกรณีที่ยืนคำร้องต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ  เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือโนตารี พับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ 7. การยื่นคำขอให้รับรองคำแปลดังกล่าว  ให้ยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ตามแบบที่กำหนดต่อส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
เอกสารที่ได้รับรองตามข้อ 6 พร้อมสำเนา 1 ชุด โดยมีต้นฉบับภาษาต่างประเทศมาแสดงด้วย
ต้นฉบับคำแปลภาษาไทยที่ผู้แปลลงชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้องพร้อมสำเนา 1 ชุด
บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ในกรณีที่เจ้าของเอกสารไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเอง  ให้มีหนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด  หากเจ้าของเอกสารเป็นนิติบุคคล  ให้มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลนั้น บัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจลงนามพร้อมสำเนา 1 ชุด
ข้อ 8. การยื่นคำร้องขอนิติกรณ์เพื่อขอให้รับรองคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ให้แนบต้นฉบับภาษาต่างประเทศและต้นฉบับคำแปลภาษาอังกฤษที่ได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย  หรือได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือ โนตารี พับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ แล้วแต่กรณี พร้อมคำแปลภาษาไทยที่ผู้แปลลงชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้องพร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
ในกรณีที่สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  ให้แนบต้นฉบับภาษาต่างประเทศและต้นฉบับคำแปลภาษาไทยที่สถานทูตหรือสถานกงสุลดังกล่าวได้ประทับตรารับรองแล้วพร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
ส่วนที่ 2 การรับรองสำเนาเอกสาร
ข้อ 9. เอกสารที่นำมายื่นเพื่อขอให้รับรองสำเนาจะต้องเป็นเอกสารที่ทำสำเนาจากต้นฉบับที่ทางราชการไทยออกให้  ในกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาแสดงสำเนาเอกสารที่นำมายื่นเพื่อขอให้รับรอง จะต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากส่วนราชการที่ออกเอกสารนั้น เว้นแต่ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ สำเนาที่นำมาแสดงจะต้องอ่านได้ความชัดเจนมีข้อความตรงกันกับต้นฉบับ
 การยื่นคำร้องขอให้รับรองสำเนาดังกล่าว ให้ยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ตามแบบที่กำหนดต่อส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมกับเอกสารดังต่อไปนี้
ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารที่ได้รับรองจากส่วนราชการที่ออกเอกสารนั้น พร้อมสำเนา 2 ชุด
บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ในกรณีที่เจ้าของเอกสารไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเอง ให้มีหนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด หากเจ้าของเอกสารเป็นนิติบุคคล  ให้มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลนั้น บัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจลงนามแทน พร้อมสำเนา 1 ชุด
ส่วนที่ 3การรับรองลายมือชื่อ
ข้อ 10. เอกสารที่นำมายื่นเพื่อขอให้รับรองลายมือชื่อ จะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับที่ลงนามโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนามของส่วนราชการนั้น ๆ หรือเจ้าหน้าที่สถานทูต หรือสถานกงสุลของต่างประเทศในประเทศไทย
ในกรณีที่ยื่นคำร้องต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศ  เอกสารดังกล่าวจะต้องเป็นเอกสารที่ลงนามโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกระทรวงการต่างประเทศ หรือ โนตารี พับลิค หรือหน่วยงานอื่นตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
การรับรองลายมือชื่อจะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดังกล่าวได้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อให้ไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
การยื่นคำร้องขอให้รับรองลายมือชื่อ ให้ยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ตามแบบที่กำหนดต่อส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศไทย พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
สำเนาเอกสารที่ขอให้รับรองลายมือชื่อ จำนวน 1 ชุด
บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ในกรณีที่เจ้าของเอกสารไม่สามารถยื่นคำร้องด้วยตนเอง ให้มีหนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด   หากเจ้าของเอกสารเป็นนิติบุคคล  ให้มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลนั้น บัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้มีอำนาจลงนามพร้อมสำเนา 1 ชุด
 ข้อ 11. ในกรณีที่ขอให้รับรองลายมือชื่อบุคคล ผู้นั้นจะต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่โดยให้ยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ ตามแบบที่กำหนด ต่อส่วนราชการกระทรวงการต่างประเทศพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
ต้นฉบับเอกสารที่จะต้องลงลายมือชื่อต่อเจ้าหน้าที่พร้อมสำเนา 1 ชุด
บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ข้อ 12. ในกรณีที่ขอให้รับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลนั้น ๆ มาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยยื่นคำร้องขอนิติกรณ์ตามแบบที่กำหนดต่อส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
ต้นฉบับเอกสารที่จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
บัตรประจำตัวหรือเอกสารประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้ที่จะลงลายมือชื่อพร้อมสำเนา 1 ชุด
หนังสือรับรองการมีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
ข้อ 13. การรับรองลายมือชื่อตามข้อ 11 และข้อ 12 เนื้อหาของเอกสารที่นำมาแสดง และวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ข้อ 14. เอกสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศ และได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศหรือ โนตารี พับลิค หรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ หากผู้ร้องนำมายื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้รับรอง  เอกสารดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจาก สถานทูตหรือกงสุลของไทยที่มีเขตอาณาในประเทศนั้น ๆ ก่อน
ส่วนที่ 4 ตราประทับ
ข้อ 15. การรับรองคำแปลเอกสาร เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้ตรวจสอบถ้อยคำและเนื้อความในคำแปลแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงกัน ให้รับรองโดยใช้คำรับรองว่า "certified correct translation" หรือ "ขอรับรองว่าเป็นคำแปลถูกต้อง" การรับรองคำแปลเช่นว่านี้ให้ใช้กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แปล
การรับรองคำแปลกรณีที่หน่วยราชการอื่นหรือเอกชนเป็นผู้แปลและผู้แปลลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง  ให้ใช้คำรับรองว่า " seen at the Ministry of Foreign Affairs" หรือ " กระทรวงการต่างประเทศได้ทราบแล้ว " หรือ " Seen at the Royal Thai Embassy " หรือ " สถานเอกอัครราชทูตได้ทราบแล้ว " หรือ " Seen at the Royal Thai Consulate-General " หรือ " สถานกงสุลใหญ่ได้ทราบแล้ว " แล้วแต่กรณี
 ข้อ 16. การรับรองสำเนาให้ใช้คำรับรองว่า " certified true copy "
ข้อ 17. การรับรองลายมือชื่อตามข้อ 10 เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจให้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่ได้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อให้ไว้เป็นหลักฐาน ให้ใช้คำรับรองว่า " certified genuine signature of ……" หรือ " ขอรับรองว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ…" สำหรับการรับรองลายมือชื่อตาม ข้อ 11 และข้อ 12 ให้ใช้คำรับรองว่า " certified genuine signature of …… " และให้มีข้อความว่า " The Ministry of Foreign Affairs หรือ The Royal Thai Embassy หรือ The Royal Thai Consulate-General assumes no responsibility for the contents of the document " แล้วแต่กรณี
ข้อ 18. การรับรองทุกครั้งให้ระบุเลขที่นิติกรณ์ วันที่ สถานที่ คำรับรอง และลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ พร้อมด้วยตำแหน่ง และตราประทับของส่วนราชการ
ส่วนที่ 5 ทะเบียนนิติกรณ์และค่าธรรมเนียม
ข้อ 19. ให้เจ้าหน้าที่จัดทำสมุดทะเบียนนิติกรณ์ประจำส่วนราชการ โดยให้มีรายการดังต่อไปนี้
วันที่รับเอกสาร
ชื่อผู้ยื่นคำร้อง
ชื่อเจ้าของเอกสาร
ประเภทของเอกสาร
เลขที่ นิติกรณ์
วันเดือนปี นิติกรณ์
วันที่จ่ายเอกสาร
ข้อ 20. ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ และให้บริการรับรองเอกสารที่มีผู้ยื่นคำขอนิติกรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันที่ได้รับคำขอ  ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องส่งเอกสารที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยตรวจสอบความถูกต้องก่อน  ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดำเนินการต้องไม่เกิน 45 วัน
 ข้อ 21. อัตราค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงการต่างประเทศ
ประกาศ ณ วันที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2539
อำนวย วีรวรรณ
(นายอำนวย วีรวรรณ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ





วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
            ทนายคลายทุกข์ขอนำความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน      จากหนังสือ ครอบครัว  โดยประสพสุข  บุญเดช ซึ่งเป็นเรื่องสมาชิกสอบถามเข้ามาที่ทนายคลายทุกข์เป็นจำนวนมาก  ว่าจะถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  จะมีส่วนในทรัพย์สินหรือไม่  ซึ่งท่านที่กำลังมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน  สามารถศึกษาได้จากข้อมูลที่ทนายคลายทุกข์นำมาเสนอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือของคุณประสพสุข 
สามีภริยาได้ทำการสมรสกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478  ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ได้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5  แล้ว   โดยมิได้จดทะเบียนกันนั้น  ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  เพราะมาตรา 1457  บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า  การสมรสจะมีได้เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น  ชายและหญิงที่อยู่ด้วยกันดังกล่าวจึงไม่เป็นคู่สมรสต่อกัน  บุตรที่เกิดมาก็ถือว่าเป็นบุตรของหญิงฝ่ายเดียว  สินส่วนตัวและสินสมรสไม่เกิดขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินที่ชายหญิงคู่นี้ได้ลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกัน  ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันนั้น  ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันและมีส่วนในทรัพย์สินเหล่านั้นคนละครึ่งเท่ากัน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรม  เพราะการที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย  แต่ก็หาการกระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ 
ตัวอย่างเช่น  สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียน  หญิงขายทรัพย์ของตนเองเอาไปซื้อที่ดินและกระบือลงชื่อชายถือกรรมสิทธิ์ทำกินร่วมกันมา  ชายตาย  ถือว่าชายหญิงเป็นเจ้าของร่วมกัน  หรือ หญิงชายอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส  ได้ร่วมกันซื้อนาและทำกินเป็นการแสดงเจตนาให้ถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน  ส่วนเงินที่ซื้อฝ่ายใดจะยืมใครมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์  เพราะหญิงคนนั้นระคนปนทรัพย์กันใช้สอยและทำมาหากินด้วยกัน  ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง  เป็นต้น  หลักการเช่นว่านี้ในต่างประเทศ เช่น  สหรัฐอเมริกา  ศาลอุทธรณ์แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย  ก็ได้วินิจฉัยในทำนองเดียวกันว่า  แม้สามีภริยามิได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย  แต่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันก็จะต้องนำมาแบ่งปันเป็นคนละครึ่งเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ดีสำหรับทรัพย์สินที่ต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกันนั้นเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว  อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนแบ่งด้วยเพราะไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1) ฉะนั้น  สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันสามีจึงไม่มีสิทธิฟ้องของแบ่งทรัพย์จากภริยาในส่วนทรัพย์ที่สามีมิได้ร่วมแรงร่วมทุนทำมาหาได้กับภริยาแต่อย่างใด
การลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกัน  โดยหลักการแล้วหมายถึงการที่ชายและหญิงร่วมกันทำการค้าหรือดำเนินกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจงแล้วได้เงินหรือทรัพย์สินมา  เงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวจึงจะถือว่าชายและหญิงเป็นเจ้าของร่วมกันในส่วนเท่ากัน  หากชายรับราชการได้เงินเดือนเดือนละ 15,000  บาท  เงินเดือนและค่าจ้างเป็นของชายหรือหญิง เช่นว่านี้เป็นของตนเองโดยเฉพาะ หรือหญิงได้รับมรดกเป็นที่ดิน 3 แปลง  ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวก็เป็นของหญิงโดยลำพังเช่นเดียวกัน  การที่ชายหญิงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน  ชายประกอบกิจการค้าส่วนหญิงอยู่บ้านเลี้ยงบุตร  ดูแลบ้าน  ทำอาหารเลี้ยงดูครอบครัวเป็นเวลาหลายปี  มีทรัพย์สินหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มขึ้น  จะถือว่าการที่หญิงเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว  เป็นการลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกันกับชาย  จึงมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินส่วนนี้หรือไม่  ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ในปี 2512  ว่า  การที่หญิงดูแลครอบครัวให้ชายเป็นการร่วมกันกับชาย  ทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติร่วมกันแล้ว  ชายหญิงจึงมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวเท่า ๆ กัน
มีข้อน่าสังเกตว่า การที่ถือหลักว่าหญิงอยู่บ้านดูแลครอบครัวให้ชายที่ออกไปทำงานนอกบ้านได้มีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุกเป็นการร่วมทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกับชาย  อาจเป็นเหตุจูงใจให้ชายและหญิงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันให้ถูกต้องตามกฎหมายมากยิ่งขึ้น  เพราะแทบไม่มีผลแตกต่างกันกันในทางทรัพย์สินระหว่างการที่ชายหญิงจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่  ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดหามาได้โดยลำพัง  อีกฝ่ายหนึ่งก็ยังคงมีส่วนแบ่งคนละครึ่งเช่นเดียวกับสินสมรส  โดยหลักการแล้วการที่ชายและหญิงมิได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  ต่างฝ่ายต่างไม่มีหน้าที่ต้องอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยาหรืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน  ฉะนั้นหญิงที่อยู่บ้านดูแลครอบครัวน่าจะเป็นเพียงการมีส่วนร่วมในการอยู่รวมกันโดยใช้แรงงานแทนเงินค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เท่านั้น  หาใช่เป็นการลงทุนร่วมแรงทำมาหากินด้วยกันกับชายอย่างแท้จริงไม่  หญิงเองก็มีความผาสุกในการกระทำดังกล่าวเช่นเดียวกับชายเหมือนกัน  ในประเทศอังกฤษเมื่อปี 2527  มีคดีที่ชายหญิงภริยาคู่หนึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยามาเป็นเวลานานถึง 19 ปี โดยหญิงต้องลาออกจากงานมาดูแลบ้านและครอบครัวซึ่งมีบุตรด้วยกัน 2 คน  ชายหญิงคู่นี้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในบ้านที่บุคคลทั้งสองใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ศาลวินิจฉัยว่าหญิงไม่มีส่วนร่วมในการได้มาซึ่งบ้านหลังนี้  จึงไม่มีส่วนแบ่งใด ๆ ในบ้านดังกล่าวแม้ว่าหญิงจะทำงานหนักมาหลายปีเท่ากับชายในค้ำจุนครอบครัวในแง่ของครอบครัวก็ตาม  ฉะนั้นจึงน่าจะต้องรอดูต่อไปว่า  ศาลฎีกาจะยังคงยืนยันหลักการเดิมหรือจะเปลี่ยนหลักการมาทำนองเดียวกับคดีของศาลอังกฤษเช่นว่านี้ในโอกาสต่อไป
สำหรับการที่ชายกับชายก็ดี  หรือหญิงกับหญิงก็ดี  มาอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยานั้น  เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้  เพราะขัดต่อเงื่อนไขของการสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชาย  และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง  แต่ในทางด้านทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองทำมาหาได้ด้วยกันในระหว่างอยู่กินด้วยกันนี้  ต้องถือว่าบุคคลที่สองมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน  โดยมาตรา 1357  ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน  จึงต้องแบ่งกันคนละครึ่งเคยมีคดีที่โจทก์เป็นหญิงแต่มีนิสัยและทำตัวเป็นชาย  มีอาชีพขายเนื้อโค  กระบือ  ส่วนจำเลยก็เป็นหญิงมีอาชีพเป็นนักร้อง  โจทก์และจำเลยได้มาอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันโดยจำเลยเลิกอาชีพดังกล่าวและทำพิธีเข้าถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับโจทก์  ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันมาเกิดมีทรัพย์สินคือ  ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 3 แปลง  โดยที่ดินทั้งสามแปลงนี้มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์  โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าว   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  แม้โจทก์จำเลยเป็นหญิงไม่สามารถจะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย  แต่ตามพฤติกรรมที่บุคคลทั้งสองได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเกือบ 20 ปี  โดยจำเลยทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน  แต่ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์เองว่าบางครั้งจำเลยก็มาช่วยโจทก์ขายเนื้อในตลาด  ในการซื้อ โค  กระบือนั้น  หากจ่ายเป็นเช็คก็ใช้เช็คของจำเลย  แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของโจทก์จำเลยร่วมกัน  บรรดาทรัพย์ที่โจทก์หรือจำเลยทำมาหาได้ระหว่างนั้น  ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดหาใช่ข้อสำคัญไม่  แต่ต้องถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกัน  จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายและความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้โจทก์และจำเลยมีส่วนในทรัพย์สินที่พิพาททั้งหมดคนละกึ่งหนึ่ง  พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้งสามแปลงนี้ให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง
            ในกรณีที่ชายมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว  แต่มาได้หญิงอีกคนหนึ่งเป็นภริยาน้อยชายและภริยาน้อย  ร่วมกันทำมาหาได้ทรัพย์สินใดมา  ทรัพย์สินที่ได้มานี้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย โดยภริยาน้อยมีส่วนครึ่งหนึ่ง  อีกครึ่งหนึ่งที่เป็นของชายเป็นสินสมรสชายกับภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย  แต่ถ้าภริยาน้อยไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้  ทรัพย์สินที่ได้มาเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวงทั้งหมด  เช่น  ชายกับภริยาน้อยร่วมกันทำการค้าได้กำไรไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง  หากจะต้องแบ่งที่ดินแปลงนี้ให้ภริยาน้อยครึ่งหนึ่งภริยาหลวงได้เศษหนึ่งส่วนสี่  และชายได้เศษหนึ่งส่วนสี่ เป็นต้น  การร่วมกันทำมาหาได้ทรัพย์สินนี้น่าจะไม่จำเป็นต้องร่วมกันทำการค้า  หรือดำเนินกิจการโดยเฉพาะเจาะจงแม้เพียงชายไปทำมาค้าขายโดยตนเอง  ส่วนภริยาน้อยเลี้ยงดูบุตรเป็นแม่บ้านอยู่รวมกันกับชายในบ้านหลังเดียวกัน  ก็อาจจะถือว่าร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นของชายและภริยาน้อยร่วมกันได้  แต่ทั้งนี้ชายและภริยาน้อยต้องมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันกับภริยาหลวงและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน  แสดงว่าได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดแล้ว  หากสามี ภริยา และภริยาน้อยอยู่ร่วมบ้านเรือนเดียวกันหรืออยู่บริเวณใกล้ชิดมีช่องทางเข้าออกถึงกันได้  ถือว่าภริยาน้อยเข้ามาอยู่ในครอบครัวของสามีในฐานะบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้น  ภริยาน้อยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสระหว่างสามีภริยาแต่อย่างใด

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือครอบครัว  โดยคุณประสพสุข  บุญเดช  ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
ของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้เป็นไป
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ที่เห็นชอบให้ปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง
และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ และให้ปรับอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้างขั้นต่ํา และขั้นสูง
ของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวใน *** ส่วนร้อยละห้า และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ กันยายน ๒๕๕๔ ที่เห็นชอบให้ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ ลูกจ้างประจํา
และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุ หรือแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่กําหนดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง
สําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป หรือระดับต่ํากว่าระดับปริญญาตรี รวมทั้งทหาร
กองประจําการ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐดังกล่าวมีรายได้เพียงพอในการดํารงชีพตามภาวะเศรษฐกิจ
ที่ปรับสูงขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒
กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพ
ชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่
(๑) ข้อ ๕ และข้อ ๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒) ข้อ ๖ และข้อ ๙ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ข้าราชการ” ในข้อ ๕ ของระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
ของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร (ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม)
ข้าราชการตํารวจตามกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติ (ไม่รวมถึงพลตํารวจสํารอง) ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
และข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ลูกจ้างชั่วคราว” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ลูกจ้างประจํา”
และคําว่า “ทหารกองประจําการ” ในข้อ ๕ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ
และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
“ลูกจ้างชั่วคราว” หมายความว่า ลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง
ของส่วนราชการ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ
และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๖ ข้าราชการและลูกจ้างประจําซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่น
สองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท
แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีจํานวนเงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ให้ข้าราชการและลูกจ้างประจํานั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างอีก
จนถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖/๑ ข้อ ๖/๒ และข้อ ๖/๓ ของระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
“ข้อ ๖/๑ ในกรณีที่ตําแหน่งของข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และลูกจ้างชั่วคราว ที่คณะกรรมการ
บริหารงานบุคคลกลางของข้าราชการแต่ละประเภทกําหนด หรือที่กระทรวงการคลังกําหนด
ได้กําหนดให้คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งบรรจุหรือแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวที่มีเงินเดือน
หรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือน
หรือค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ข้อ ๖/๒ ในกรณีที่ตําแหน่งของข้าราชการและลูกจ้างประจําที่คณะกรรมการบริหารงาน
บุคคลกลางของข้าราชการแต่ละประเภทกําหนด หรือที่กระทรวงการคลังกําหนด ได้กําหนดให้
คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ํากว่าปริญญาตรี ให้ข้าราชการ
และลูกจ้างประจําซึ่งบรรจุหรือแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ
หนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท
แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีจํานวนเงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท ให้ข้าราชการ
และลูกจ้างประจํานั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละ
เก้าพันบาท
ข้อ ๖/๓ ในกรณีที่ตําแหน่งของลูกจ้างชั่วคราวที่คณะกรรมการบริหารงานบุคคลกลางของข้าราชการ
แต่ละประเภทกําหนด หรือที่กระทรวงการคลังกําหนด ได้กําหนดให้คุณสมบัติเฉพาะสําหรับ
ตําแหน่งนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ํากว่าปริญญาตรี ให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งบรรจุหรือแต่งตั้งให้
ดํารงตําแหน่งดังกล่าวที่มีค่าจ้างไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้น
จากค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละเก้าพันบาท”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกข้อ ๗ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ
และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗/๑ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและ
ลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๗/๑ ทหารกองประจําการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.๑ กรณีที่เงินเดือนรวมกับ
เบี้ยเลี้ยงประจําตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการนั้นแล้ว มีจํานวนไม่ถึงเดือนละแปดพัน
หกร้อยสิบบาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกําหนด
ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจําตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกิน
เดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ให้นําความในข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับกับการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
ให้แก่ทหารกองประจําการด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗/๒ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการ เบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
“ข้อ ๗/๒ ทหารกองประจําการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.๑ กรณีที่เงินเดือนรวมกับ
เบี้ยเลี้ยงประจําตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการนั้นแล้ว มีจํานวนไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท
ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกําหนด ซึ่งเมื่อรวมกับ
เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจําตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกินเดือนละเก้าพันบาท
ให้นําความในข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ มาใช้บังคับกับการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
ให้แก่ทหารกองประจําการด้วยโดยอนุโลม”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความ
ต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๙ ให้ส่วนราชการออกคําสั่งการได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวและให้ส่วนราชการ
ผู้เบิกส่งคําขอเบิกเงินซึ่งตรวจสอบถูกต้องแล้วมายังกรมบัญชีกลาง หรือสํานักงานคลังจังหวัด โดยไม่ต้อง
ส่งสําเนาคําสั่งประกอบคําขอเบิกเงิน”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกข้อ ๑๐ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่ม
การครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความ
ต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๒ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวและหลักฐานการจ่าย
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี บําเหน็จบํานาญ
เงินประจําตําแหน่ง เงินเพิ่ม และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย
การจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม และให้เก็บหลักฐานการจ่ายไว้ที่
ส่วนราชการเพื่อให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ”
ข้อ ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๒/๑ และข้อ ๑๒/๒ ของระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
“ข้อ ๑๒/๑ ในกรณีที่ส่วนราชการมีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้กระทรวงการคลัง
เป็นผู้วินิจฉัย และในกรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดในระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการ
ขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๒/๒ การได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวตามระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ที่มีสิทธิ
ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งพนักงานสอบสวน
คดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ และผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่งตามระเบียบคณะกรรมการ
กฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดตําแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา”

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...