วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562


วิเคราะห์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่อง ...นิติกรรม....
                กฎหมายแพ่ง คือ  เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน
                ประเภทของกฎหมาย แบ่งตามความสัมพันธ์  ก็คือ กฎหมายเอกชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน  มีลำดับศักดิ์เทียบเท่า กฎหมายพระราชบัญญัติ  คือ  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ซึ่งมีลักษณะของการนำไปใช้ ก็คือ กฎหมายสารบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคคล  โดยจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดอันจะก่อให้เกิดสภาพบังคับ
                กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน นอกจากเป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์หรือในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแล้ว  ยังได้บัญญัติต่อไปถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำระหว่างบุคคลต่อบุคคล  ที่มีความผูกพันกันในทางกฎหมายว่า  จะมีผลผูกพันหรือการก่อนิติสัมพันธ์กันอย่างไร 
                วิเคราะห์กฎหมายที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันในที่นี้พูดถึง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรม  นิติกรรม  หมายถึง  การใดๆ  อันทำลงไปโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อการเปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงันซึ่งสิทธิ์
                องค์ประกอบนิติกรรม  นิติกรรมจะต้องเกิดจากการกระทำของบุคคล  และประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                1.  ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล  หมายความว่า  บุคคลนั้นกระทำสิ่งใดลงไปเพื่อต้องการผลอย่างใดอย่างหนึ่งทางกฎหมาย  หรือมีความประสงค์ที่จะก่อความสัมพันธ์ขึ้นตามกฎหมาย  เช่น  การทำสัญญา  เป็นต้น
                2.  จะต้องเป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ  กล่าวคือ  เมื่อมีการแสดงเจตนากระทำแล้ว  การกระทำนั้นจะต้องประกอบด้วยความสมัครใจอีกด้วย  เช่น  ไม่ใช่การกระทำที่เกิดจากการข่มขู่หรือใช้กำลังบีบบังคับไม่ใช่การกระทำขณะไม่มีสติสัมปชัญญะ  ซึ่งอาจจะเป็นผลทะให้นิติกรรมไม่มีความสมบูรณ์ได้
                3.  ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  ผลของนิติกรรมนั้นกฎหมายยอมรับในการคุ้มครองและบังคับบัญชาให้เกิดผลตามที่เจตนากระทำ  ฉะนั้นการกระทำดังกล่าวนั้นจึงจะต้องการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย  เช่น  ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย  หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เป็นต้น
                4.  จะต้องเป็นการที่กระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลตามกฎหมาย  ผลตามกฎหมายของนิติกรรมนี้มีความสำคัญมาก  คือ  เมื่อนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วจะเกิดผลซึ่งเรียกว่า  ความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ                                                 
ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม นิติกรรมที่ทำขึ้นเองอาจจะเกิดความบกพร่องที่เป็นผลทำให้นิติกรรมนั้นไม่สมบูรณ์  ซึ่งตามกฎหมายเรียกความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมนี้ว่า  โมฆะกรรม  และ  โมฆียะกรรม  ในทางกฎหมายสองคำนี้มีความแตกต่างกันมาก  ดังนี้
                โมฆะกรรม  หมายถึง  การกระทำที่สูญเปล่า  เสียเปล่าไม่เกิดผลตามกฎหมายขึ้นมา  ฉะนั้น  เมื่อกล่าวถึงคำว่านิติกรรมที่เป็นโมฆะ  หมายถึง  นิติกรรมนั้นไม่เกิดผลหรือไม่มีความผูกพันในอันที่จะบังคับตามกฎหมายได้แต่อย่างไร
นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น  บุคคลทุกคนสามารถกล่าวอ้างหยิบยกขึ้นมาอ้างได้ว่า  นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ               
                โมฆียะกรรม เป็นนิติกรรมที่มีความสมบูรณ์อยู่  สามารถใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย  แต่อยู่ในเงื่อนไขที่ว่าอาจถูกยกเลิกซึ่งตามกฎหมายเรียกว่า  การบอกล้าง  นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ  เมื่อการบอกล้างแล้วโมฆียะกรรมนั้นจะต้องเป็นโมฆะ  ซึ่งแตกต่างกับโมฆะกรรมที่ไม่ต้องมีการบอกล้างแต่อย่างใดเลย  เพราะโมฆะกรรมนั้นไม่มีผลในกฎหมายเกิดขึ้นเลย
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการทำนิติกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  เช่น นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ นิติกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  เช่น  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  ได้แก่  ที่ดินหรือทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน  เช่น  บ้าน  ตามกฎหมายคู่สัญญาต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ได้แก่  เจ้าพนักงานที่ดิน    สำนักงานที่ดิน  ถ้ามิได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้  กล่าวคือ  ไม่ถูกต้องตามแบบ  เช่น  ทำสัญญาซื้อขายกันเอง  โดยมิได้ทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  สัญญาดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ  ถือว่าไม่มีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินกันแต่อย่างใดเลย
                สรุป การกระทำของบุคคลในชีวิตประจำวันนั้นเมื่อมองดูเผินๆ  แล้ว  อาจจะเข้าใจว่า  เป็นการกระทำ  นิติกรรม  แต่ความจริง  แม้การกระทำหลายอย่างในชีวิตประจำวันจะเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ถ้าผู้กระทำไม่มีความประสงค์ที่จะให้มีความผูกพันหรือการบังคับกันตามกฎหมายอย่างจริงจังแล้ว  การกระทำดังกล่าวนั้นก็หากนิติกรรมไม่  เช่น  การกระทำตามอัธยาศัยไมตรีนัดเพื่อนไปดูภาพยนตร์  หรือนัดไปรับประทานอาหารร่วมกัน  แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ไปตามที่นัดไว้  ตามกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญา  เพราะการกระทำดังกล่าวยังไม่ถึงเกณฑ์ที่เรียกว่าเป็นการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลแต่อย่างใด

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...