วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การสิ้นสุดการสมรส 

เมื่อมีการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการสมรสนั้นจะสิ้นสุดลง ด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้

๑. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
๒. เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนเพราะการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (ขอให้ดูเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆะ)
๓. โดยการหย่า ซึ่งการหย่านั้น ทำได้ ๒ วิธี
๓.๑ หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากัน ได้เอง กฎหมายบังคับว่าการหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ และมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คน และถ้าการสมรสนั้นมีการจด ทะเบียนสมรส (ตามกฎหมายปัจจุบัน) การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่า ต่อนายทะเบียน ที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วยมิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์
๓.๒ หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีนี้คู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ประสงค์หย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่าจึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้นเหตุที่จะฟ้องอย่าได้คือ
(๑) สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องผู้หญิงอื่นเป็นภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องอย่าได้
(๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าความประพฤติเช่นนั้นเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ความประพฤติเช่นนั้นเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
- ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างรายแรง
- ได้รับความถูกเกลียดชัง หากยังคงสถานะของความเป็นสามีภริยา กันต่อไป
- ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึ่งประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องอย่าได้
คำว่าประพฤติชั่ว" เช่น สามีเป็นนักเลงหัวไม้เที่ยวรังแกผู้อื่น เล่น การพนัน หรือสูบฝิ่น กัญชา เป็นต้น
(๓) สามีหรือภริยาทำร้ายทรมานร่างกายหรือจิตใจหมิ่นประมาทหรือ เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเป็นการร้ายแรงด้วย อีกฝ่ายจึงจะฟ้อง หย่าได้
(๔) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี อีกฝ่าย หนึ่งฟ้องหย่าได้ การละทิ้งร้างนี้ หมายถึง การที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่ เป็นการจงใจ ต้องติดต่อราชการไปชายแดน เช่นนี้ ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง
(๕) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกจำคุกเกิน ๑ ปี โดยที่ อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ มีส่วนในความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ และการเป็นสามีภริยากันจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
(สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือแยกกัน อยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๗) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน ๒ ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดี อย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องอย่าได้
(๘) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนโดยเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึ่งประกอบ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(๙) สามีหรือภริยาเป็นบ้าตลอดมาเกิน ๓ ปี และความเป็นบ้านั้นมี ลักษณะยากที่จะหายได้และความเป็นบ้าต้องถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๑๐) สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่อง ความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ยอมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกแต่ต่อ มากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้
(๑๑) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นภัยแก่อีก ฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้โรคดังกล่าว ต้องมีลักษณะเรื้อรัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
(๑๒) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจ ร่วมประเวณีได้ ตลอดกาล คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...