วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


สรุปมาตราสำคัญพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
(ฉบับเตรียมสอบ)


การเป็นผู้ทำการแทนตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลแขวงหรือศาลจังหวัด

ม.9 ว.2 กรณีตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
-ว่างลง หรือ
-ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
>ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน
>ถ้าไม่มีผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุด ก็ให้ ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาทำการแทน
>ถ้าไม่บุคคลตามว.2 ในว.3ให้อำนาจประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
>ตามม.9 ว.ท้าย ผู้พิพากษาอาวุโส หรือผู้พิพากษาประจำศาล เป็นผู้ทำการแทน*ไม่ได้*
ข้อสังเกต การเป็นผู้ทำการแทนเป็นไปโดยของผลกฎหมาย ไม่อาจแต่งตั้ง/มอบหมายได้

อำนาจศาลแพ่งหรือศาลอาญาตามม.16ว.3

-มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และ คดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตศาลฯ
-ศาลแพ่งหรือศาลอาญา มีอำนาจ
1.ใช้ดุลยพินิจรับไว้พิจารณา
2.มีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
*ข้อสังเกต
-ศาลอาญา ถ้าไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องไว้จะมีคำสั่งโอนคดีไม่ได้ แต่ถ้าเพียงแต่ไต่สวนมูลฟ้อง ยังไม่ถึงขั้นประทับฟ้องย่อมมีดุลยพินิจที่จะสั่งปฏิเสธไม่รับไว้พิจารณาหรือโอนคดีไปได้
-ศาลแพ่ง ถ้าในโอกาสแรกมีโอกาสใช้ดุลยพินิจได้ กลับไม่ใช้ ย่อมถือได้ว่าได้ใช้ดุลยพินิจรับฟ้องไว้โดยปริยาย

อำนาจศาลแขวงตามม.17

คืออำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามม.24และม.25 ว.1

อำนาจผู้พิพากษาคนหนึ่งในทุกชั้นศาล (ม.24)***
(1)ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้คนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
(2)*ออกคำสั่งใดๆซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

อำนาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น (ม.25)***
(1)ไต่สวนและวินิจฉัยคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
*ข้อพิจารณา ม.25(1)ให้ดูเทียบกับม.24(2)*
ความเหมือน

-มีอำนาจสั่งได้ไม่ว่าจะคดีแพ่งหรือคดีอาญา
-คดีแพ่งไม่มีข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ คดีอาญาไม่มีข้อจำกัดเรื่องอัตราโทษ
-ต้องไม่มีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

ความต่าง

1.ม.24(2) เป็นอำนาจผู้พิพากษาคนหนึ่งในทุกชั้นศาลแต่ม.25(1)เป็นอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น
2.ม.24(2)ผู้พิพากษามีอำนาจออกคำสั่งเองโดยคู่ความมิได้ยื่นคำร้อง/คำขอ แต่ม.25(1)ต้องมีคู่ความยื่นคำร้อง/คำขอ จึงจะสั่งได้
3.ม.24(2) ต้องไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับว่าก่อนออกคำสั่งศาลต้องไต่สวนก่อน ส่วนม.25(1)จะมีการไต่สวนก่อนหรือไม่ก็ได้
(2)ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ตามป.อ.ม.39)
(3)ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
*ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอัตราโทษ ถ้าไต่สวนแล้วคดีมีมูลย่อมประทับฟ้องไว้พิจารณาได้
*แต่ถ้าไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นสมควรยกฟ้อง และคดีนั้นมีอัตราโทษเกินกว่าม.25(5)ผู้พิพากษาคนเดียวย่อมไม่อาจพิพากษายกฟ้องได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามม.31(1) ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างทำคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องแก้ปัญหาตามม.29(3)ต่อไป
(4)พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท
4.1ต้องเป็นคดีมีทุนทรัพย์
ข้อสังเกต
# หากเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ย่อมไม่อยู่ในอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ต้องฟ้องต่อศาลจังหวัด
# คดีฟ้องขับไล่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ถ้าจำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จะกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องตีราคาที่ดินพิพาทคำนวณเป็นทุนทรัพย์ และที่สำคัญ จำเลยต้องให้การต่อสู้โดยอาศัยสิทธิของตนจึงจะทำให้เกิดเป็นประเด็นได้ ถ้าให้การว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิคนอื่น ไม่ก่อให้เกิดประเด็น จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ ยังคงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อไป
เว้นแต่ว่า บุคคลที่จำเลยอ้างว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิเขานั้น เกิดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีขึ้นมา ตามม.57(1) อ้างว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด(ต่อสู้กรรมสิทธิ์) อย่างนี้คำร้องสอดเปรียบเสมือนเป็นคำให้การ และฟ้องแย้งโจทก์ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนจากคดีไม่มีทรัพย์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไป
# กรณีที่เป็นคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมกันมา
1.ถ้าคำขอมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ สามารถแยกเป็นเอกเทศต่างหากจากกันได้ จะต้องพิจารณาแต่ละข้อหาแยกต่างหากจากกัน
2.คดีมีข้อหาเดียว กรณีมีคำหลักและคำขอรอง ทั้งมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ ให้พิจารณาคำขอหลักว่ามีทุนทรัพย์หรือไม่

4.2ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสามแสนบาท

วิธีคำนวณทุนทรัพย์

1.ดอกเบี้ย/ค่าเช่า/ค่าเสียหาย นับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้อง
2.โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยคนเดียว
เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน > คิดทุนทรัพย์รวม
ใช้สิทธิเฉพาะตัว > คิดทุนทรัพย์แยกกัน
3.โจทก์คนเดียวฟ้องจำเลยหลายคน
ให้จำเลยร่วมกันรับผิด > คิดทุนทรัพย์รวม
เช่น นายจ้าง-ลูกจ้าง,ลูกหนี้ชั้นต้น-ผู้ค้ำ
ให้จำเลยแยกกันรับผิด > คิดทุนทรัพย์แยกกัน
เช่น ต่างคนต่างกู้ ,ต่างคนต่างทำละเมิด
4.โจทก์คนเดียวฟ้องจำเลยคนเดียวแต่สัญญาหลายฉบับ
เช่นสัญญากู้หลายฉบับ สัญญาค้ำประกันหลายฉบับ
จำง่ายๆว่า กู้-เช็ครวม แชร์-ค้ำแยก
5.คดีร้องขัดทรัพย์คิดตามราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ปล่อย
6.คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง คิดทุนทรัพย์แยกต่างหากจากคดีเดิม
7.คดีที่มีการร้องสอดตามม.57(1)(3) คิดทุนทรัพย์แยกต่างหากจากคดีเดิม
8.กรณีอัยการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามวิอาญาม.43 หรือผู้เสียหายขอค่าสินไหมทดแทนตามม.44/1ไม่คำนึงถึงว่า         ทุนทรัพย์ในส่วนแพ่งจะอำนาจศาลแขวงหรือไม่ แม้จะเกินสามแสนบาทก็ขอได้
(5)พิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท   หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ได้
*ข้อสังเกต
1.กรณีกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ดูบทหนัก
2.ความผิดหลายกรรม ให้ดูแต่ละกรรมแยกกัน
3.อัตราโทษที่ศาลลงให้ดู"โทษสุทธิ" ภายหลังเพิ่มโทษ,ลดโทษ,บวกโทษแล้ว
4.กรณีความผิดที่ฟ้องกับความผิดที่พิจารณาได้ความแตกต่างกัน
-ฟ้องบทเบาได้ความบทหนัก เกินอำนาจศาลแขวง เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกความประสงค์โจทก์ พิจารณาลงโทษตามที่โจทก์ฟ้อง
-ฟ้องบทหนักซึ่งอยู่ในอำนาจศาลจังหวัด ได้ความบทเบา ไม่ทำให้อำนาจฟ้องโจทกเปลี่ยนไปศาลจังหวัดมีอำนาจลงโทษจำเลยได้

**ม.25 ว.2 ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตามม.25(3)(4)(5)
แต่มาตรานี้ไม่ได้ห้ามผู้พิพากษาอาวุโส



อำนาจศาลจังหวัดตามม.18

ม.18 ภายใต้บังคับม.19/1 ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมอื่่น
-ถ้าเป็นคดีในอำนาจศาลแขวง และมีศาลแขวง ก็ต้องฟ้องศาลแขวง ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
-เว้นแต่จะเป็นกรณีตามม.19/1

ม.19/1
ว.1เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง
-ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดยังอยู่ในชั้นตรวจคำฟ้อง ศาลยังไม่ประทับรับฟ้อง > เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะรับหรือไม่ก็ได้
- ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด ศาลนั้นได้มีคำสั่ง"รับฟ้อง"คดีนั้นไว้แล้ว > ศาลนั้นต้องพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
ว.2 เป็นเรื่องที่ขณะ"ยื่นฟ้อง" คดีอยู่ในอำนาจศาลจังหวัด
แต่ต่อมาพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง >ศาลจังหวัดต้องพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป
ข้อสังเกต
- ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดแล้ว นำคดีมาฟ้องต่อศาลแขวง ศาลแขวงย่อมไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษา

กรณีมีเหตุสุดวิสัย/เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ (ม.28,29,30,31)

ม.28(ระหว่างพิจารณา)
1.กรณี มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้
เกิดขึ้นใน"ระหว่างพิจารณา"
ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะไม่อาจนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้
2. ผู้มีอำนาจแก้ปัญหา
-หัวหน้า หรือ ผู้ทำการแทน
-รองหัวหน้า
-ผู้พิพากษาในศาลนั้น ซึ่งหัวหน้าหรือผู้ทำการแทนมอบหมาย
(1)ศาลฎีกา(2)ศาลอุทธรณ์(3)ศาลชั้นต้น
3.วิธีแก้
ให้บุคคลตาม 2. มีอำนาจ นั่งพิจารณาคดีนั้นแทน
 ข้อสังเกต
-ระหว่างพิจารณาตามม.28 > ตั้งแต่ยื่นฟ้องถึงคดีเสร็จการพิจารณา
-กรณีศาลชั้นต้นให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสองในการผ่อนชำระหนี้และเลื่อนการฟังคำพิพากษาไป มีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไป ไม่ใช่กรณีที่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้เสร็จลงเพราะเมื่อถึงกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์และจำเลยทั้งสองก่อนว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ เพื่อประกอบดุลพินิจว่าจะให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไปหรือมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล (ฎ.5802/2554)
-การมอบหมายตามม.28(3) กรณีเป็นผู้พิพากษาประจำศาลไม่สามารถมอบหมายให้ทำหน้าที่ได้ ในกรณี
1.ใช้อำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามม.25(3)(4)(5)
เพราะขัดต่อม.25ว.2
2.มอบหมายให้เป็นองค์คณะกับผู้พิพากษาประจำศาลด้วยกันไม่ได้ เพราะขัดต่อม.26

ม.29(ระหว่างทำคำพิพากษา)
1.กรณี มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เกิดขึ้นใน"ระหว่างทำคำพิพากษา"
ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะไม่อาจนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้
2. ผู้มีอำนาจแก้ปัญหา
-หัวหน้า หรือ ผู้ทำการแทน
-รองหัวหน้า
-*ไม่สามารถมอบหมายให้ทำแทนได้
(1)ศาลฎีกา(2)ศาลอุทธรณ์(3)ศาลชั้นต้น
3.วิธีแก้
ให้บุคคลตาม 2. มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา เมื่อได้ตรวจสำนวนแล้ว
*เฉพาะในศาลอุทธรณ์ ,ศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้ง
*ระหว่างทำคำพิพาษา คือ ช่วงที่คดีเสร็จการพิจารณา ถึง มีคำพิพากษา

กรณีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ม.30 กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณานั้น
1.พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่
2.ถูกคัดค้านและถอนตัวไป
3.ไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถ
-นั่งพิจารณา หรือ
-ทำคำพิพากษาได้
ม.31 กรณีใช้อำนาจผู้พิพากษาคนเดียวแล้วเกิดปัญหา
(1)ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นควรยกฟ้อง
แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดเกินกว่าม.25(5)
(2)ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามม.25(5)แล้วเห็นว่าควรลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เกินกว่าอัตราดังกล่าว
(3)การทำพิพากษาหรือคำสั่ง"คดีแพ่ง" จะต้องกระทำโดยองค์คณะผู้พิพากษาหลายคนและผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมี"ความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมากไม่ได้"
(4)ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตามม.25(4)ไปแล้ว ต่อมาราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว

ข้อพิจารณาการปรับบทตามม.28,29,30,31
1.เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เป็นเหตุตามมาตราใด
             (ม.30หรือม.31)
2.เหตุนั้นเกิดขึ้นในระหว่างใด
                  (การพิจารณา(ม.28) หรือ ทำคำพิพากษา(ม.29))
3.เกิดขึ้นในศาลชั้นใด
                  (1)ศาลฎีกา(2)ศาลอุทธรณ์(3)ศาลชั้นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟ้องซ้อน             หลักกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาและผลแห่งการนี้ ...